เฝ้าระวังน้ำท่วมหาดใหญ่ - Hatyai City Climate . ORG

เตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยปี ๒๕๖๒

by punyha @28 ก.ย. 62 22:02 ( IP : 124...152 ) | Tags : ข่าวสารประชาสัมพันธ์
  • photo  , 960x540 pixel , 63,545 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,977 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,489 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 64,094 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,513 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 62,115 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,210 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 57,365 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 60,865 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 59,969 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 55,436 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 54,769 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 87,399 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 37,021 bytes.
  • photo  , 467x960 pixel , 43,986 bytes.
  • photo  , 1566x1046 pixel , 115,706 bytes.
  • photo  , 1566x1046 pixel , 121,560 bytes.
  • photo  , 1566x1046 pixel , 106,721 bytes.
  • photo  , 1566x1046 pixel , 128,212 bytes.
  • photo  , 1566x1046 pixel , 85,332 bytes.
  • photo  , 1566x1046 pixel , 111,709 bytes.
  • photo  , 1566x1046 pixel , 108,008 bytes.

"เตรียมพร้อมรับอุทกภัยปี ๖๒"

ในฐานะเครือข่าย ภาคส่วนต่างๆไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐ ท้องถิ่น วิชาการ เอกชน ประชาชน จำเป็นต้องสานพลังเสริมหนุนกันและกัน เป้าหมายก็เพื่อประโยชน์ของประชาชน

อุทกภัยไม่เข้าใครออกใคร แต่ละองค์กรต่างมีช่องทาง วิถีทาง วัฒนธรรมการทำงานที่สะสมบทเรียนและประสบการณ์เฉพาะตัว แต่เมื่อมารวมกันภายใต้ระบบนิเวศเดียวกัน ช่องว่างที่เกิดจากพื้นที่เหลื่อมซ้อนหรือขบเหลี่ยมหรือทับซ้อนกันยังมีอยู่เสมอ การเปิดพื้นที่ความคิดในการทำงานร่วมกันจึงมีความจำเป็น ภาวะเกิดภัยตั้งแต่ "ก่อนเกิด" "ขณะเกิด" และ "หลังเกิด" เป็นวงจรที่มีความสำคัญไม่ต่างกัน

มูลนิธิชุมชนสงขลา/ศปจ.สงขลาจับมือมูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(SCCCRN) นัดเครือข่ายทั้งส่วนภาครัฐ ณ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ประกอบด้วยปภ.เขต ๑๒ ปภ.จังหวัด ปภ.สาขา สนง.ทรัพยากรน้ำภาค ๘ ส่วนอุทกวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครือข่ายท้องถิ่น เครือข่ายเตือนภัยของคลองตง ลำไพล นาหมอศรี รำแดง ภูมี ให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาระบบเตือนภัยผ่าน www.Hatyaicityclimate.org และแอพพลิเคชั่น City climate ที่ขยายพื้นที่รองรับเครือข่าย ๕ ลุ่มน้ำในสงขลา และจับงานการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกฤดูกาล ไม่ใช่เฉพาะอุทกภัย

ปรับแอพพลิเคชั่นเดิม ตัด Hatyai ออกเพื่อให้ไม่จำกัดพื้นที่ โดยมีชื่อไทยว่า "เมืองลดโลกร้อน" รอบนี้เติมการวัดข้อมูล PM.๒.๕ ประสานนำภาพจากกล้องของกรมชลประทานในพื้นที่สงขลาเข้ามาเติมเต็มระบบ บวกกับกล้อง CCTV เดิม การส่งข่าวเตือนภัยจากเครือข่ายในพื้นที่ การสานเครือข่ายเฝ้าระวังในแต่ละลุ่มน้ำ การขยายสมาชิกในกลุ่ม line แต่ละลุ่มน้ำเพื่อให้ข้อมูลถูกส่งต่อไปถึงฐานราก

ศูนย์อุตุฯ เจ้าบ้านปัจจุบันมีรายงานข่าววันละ ๔ ครั้ง ปล่อยบอลลูน ๔ เวลา มีเวรยามเฝ้าระวัง ๒๔ ชั่วโมง ดูแล ๑๙ สถานีตรวจอากาศ ปีนี้ลงไปทำงานกับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ นำข้อมูลอุตุนิยมวิทยาไปให้กลุ่มทำนา ทำสวนยางได้ใช้ประโยชน์ในแต่ละวัน เดือน ปี

ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ มีข้อเสนอดีๆ มากมาย

๑.เพิ่มเรื่องไฟป่าเข้ามา โดยพล็อตจุดเสี่ยงโดยเฉพาะหน้าแล้งเพื่อดูข้อมูลความชื้นในผิวดิน

๒.ประสานสถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) เพิ่มข้อมูลเข้ามาในเว็บไซต์

๓.มีการซักซ้อมบนโต๊ะเพื่อให้เครือข่ายต่างๆได้เตรียมความพร้อม โดยเฉพาะการใช้แอพพลิเคชั่น

๔.ลดขอบเขตพื้นที่ ทำงานเชิงลึกกับลุ่มน้ำสาขาในบางพื้นที่ ทำให่้ครบวงจร มีระบบเครือข่ายรองรับ ถักทอกับงานเชิงระบบของจังหวัด รองรับทุกสารพัดภัย

๕.ประสานปภ.จังหวัด/เขตนำข้อมูลทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำ WAR ROOM เพื่อให้เห็นสถานการณ์ที่เป็นจริงในแต่ละลุ่มน้ำ (ระบบผังเครือข่ายในแอพฯ สามารถรายงานเขียว/เหลือง/แดง พร้อมภาพ)

๖.ให้มีการ Live ผ่านเฟชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งศูนย์อุตุฯได้นำร่องไปแล้ว โดยเฉพาะจังหวัด ให้ผู้ว่าฯสามารถสื่อสารกับสังคมได้อย่างใกล้ชิด ทันสถานการณ์ ทีมประเมินสถานการณ์ที่มีการจัดตั้งไว้ ส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านผู้ว่าฯสู่สาธารณะอย่างสม่ำเสมอ

๗.สนง.ทรัพยากรน้ำภาค ๘ มีสถานีวัดน้ำและ "ผู้รู้" ที่ประจำสถานี สนใจส่งต่อข้อมูลเพื่อการเตือนภัยผ่านเว็บไซต์และแอพฯเครือข่าย

๘.จัดระบบสื่อสารเพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลอย่างเป็นเอกภาพ และทันสถานการณ์ในแต่ละลุ่มน้ำ ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มไลน์ หน่วยงานต่างๆทำภาพกราฟฟิคสื่อสารบทบาทภาระกิจขององค์กร ตลอดจนช่องทางติดต่อ รายงานข่าวสารให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ส่งต่อไปยังช่องทางสื่อสารที่มี

๙.เตรียมพร้อมช่วงเกิดภัย จัดระบบการสำรวจความต้องการความช่วยเหลือผ่านแอพฯ รวมถึงจุดประสานงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนและสร้างเอกภาพการทำงาน

เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทั้งสามารถดำเนินการได้ทันทีและนำไปใช้ในอนาคต การทำงานเป็นเครือข่ายโดยใช้พื้นที่เป็นฐานจะเข้ามาเติมเต็มระบบ ถึงเวลาเกิดภัย จะได้ลดความเสี่ยงและความสูญเสีย

ชาคริต โภชะเรือง รายงาน